1.เขตเลือกตั้งให้ใหญ่ขึ้น
การเลือกตั้งในระบบเขตเดียวเบอร์เดียว เป็นการเปิดโอกาสให้มีการทุจริตเลือกตั้งมากกว่าเขตใหญ่ เพราะผู้สมัครในระบบเขตเดียวเบอร์เดียวพื้นที่เล็ก จำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงน้อย ผู้ทุจริตสามารถกำหนดเป้าหมายในการทุจริตได้เป็นระบบ ทั้งตัวบุคคล ทั้งพื้นที่และกำหนดสิ่งตอบแทน(ใช้เงินน้อยกว่า) จึงมีแรงจูงใจให้ทั้งผู้สมัคร และพรรคการเมืองอยากทำผิดเลือกตั้งมากกว่า หากกระทำความผิดแล้วคุ้มค่า (เมื่อเทียบกับสิ่งที่คาดว่าตนจะสูญเสีย)
2.กำหนดบทลงโทษผู้กระทำความผิดให้เหมาะสม
บุคคลจะตัดสินใจกระทำทุจริตเลือกตั้งก็ต่อเมื่อประโยชน์ที่เขาคาดคะเน ว่าจะได้จากการกระทำความผิดสูงกว่าต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (การตัดสินใจกระทำผิดมักจะมีเหตุผลในการตัดสินใจเลือกในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนมากที่สุด และเลือกอย่างมีเหตุผล (rational choice )ที่สุด)
การที่ต้องใช้ค่าคาดคะเน (expected value) ก็เนื่องจากการกระทำความผิดมีความไม่แน่นอน (uncertainty) จากการกระทำผิดสำเร็จ และการถูกลงโทษ จึงต้องนำความน่าจะเป็นเรื่องประโยชน์และต้นทุนมาพิจารณา โดยประโยชน์ที่คาดคะเนที่ผู้กระทำผิดคาดว่าจะได้จากการกระทำผิด เช่น ชนะการเลือกตั้งและได้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. ส่วนพรรคการเมืองมี ส.ส. เพิ่มขึ้น มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล มากขึ้น เป็นต้น ส่วนต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคือ ความน่าจะเป็นที่ผู้ทุจริตจะถูกจับกุม และถูกลงโทษ
ดังนั้นเพื่อการป้องปรามการกระทำความผิดคือ การลดประโยชน์ที่ผู้สมัครและพรรคการเมืองคาดหวังลง และการเพิ่มต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยการเพิ่มบทลงโทษให้หนักขึ้นหรือการเพิ่มความน่าจะเป็นในการถูกจับกุมให้สูงขึ้น กระบวนการลงโทษที่มีประสิทธิภาพต่ำ ทำให้เกิดการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งอย่างซ้ำซาก
การที่ต้องใช้ค่าคาดคะเน (expected value) ก็เนื่องจากการกระทำความผิดมีความไม่แน่นอน (uncertainty) จากการกระทำผิดสำเร็จ และการถูกลงโทษ จึงต้องนำความน่าจะเป็นเรื่องประโยชน์และต้นทุนมาพิจารณา โดยประโยชน์ที่คาดคะเนที่ผู้กระทำผิดคาดว่าจะได้จากการกระทำผิด เช่น ชนะการเลือกตั้งและได้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. ส่วนพรรคการเมืองมี ส.ส. เพิ่มขึ้น มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล มากขึ้น เป็นต้น ส่วนต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคือ ความน่าจะเป็นที่ผู้ทุจริตจะถูกจับกุม และถูกลงโทษ
ดังนั้นเพื่อการป้องปรามการกระทำความผิดคือ การลดประโยชน์ที่ผู้สมัครและพรรคการเมืองคาดหวังลง และการเพิ่มต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยการเพิ่มบทลงโทษให้หนักขึ้นหรือการเพิ่มความน่าจะเป็นในการถูกจับกุมให้สูงขึ้น กระบวนการลงโทษที่มีประสิทธิภาพต่ำ ทำให้เกิดการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งอย่างซ้ำซาก
3. จัดตั้งศาลเลือกตั้ง
ที่ผ่านมา กกต.มีสามอำนาจในตัวเอง กล่าวคือมีทั้งอำนาจการตราระเบียบกฎเกณฑ์ในการเลือกตั้งมีอำนาจจัดการเลือกตั้ง มีอำนาจสอบสวน และมีอำนาจวินิจฉัย เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จในองค์กรเดียวซึ่งมีแนวโน้มนำไปสู่การใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในการใช้อำนาจ
นอกจากนั้นหลายๆกรณีในการสอบสวนและวินิจฉัยมักจะล่าช้าไม่ทันต่อเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นการปล่อยให้ผู้ทุจริตไปใช้อำนาจนิติบัญญัติไปก่อน(สอยทีหลัง) บางคดีกว่าจะสิ้นสุดยาวนานเกือบๆสองปี ทำให้ผู้สมัคร และพรรคการเมืองไม่ได้เกรงกลัวต่อการใช้อำนาจของ กกต. และคดีส่วนใหญ่ศาลจะวินิจฉัยไปทางตรงกันข้ามกับคำวินิจฉัยของ กกต. ดังนั้นควรตรากฎหมายให้จัดตั้งศาลเลือกตั้ง นอกจากนั้น ต้องไม่มีการรับรองผลการเลือกตั้งให้กับผู้กระทำผิดจนกว่าศาลจะได้วินิจฉัย ทั้งนี้การวินิจฉัยควรให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเป็นที่สุด
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในกรณีการส่งคดีให้ศาลวินิจฉัยเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง)เป็นหน้าที่ของรัฐ(กกต.) รัฐมีต้นทุนต่อคดีสูงมาก
ดังนั้นการนำคดีขึ้นสู่ศาลควรให้เป็นหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาว่าทำการทุจริตเพื่อเพิ่มต้นทุนในการเข้าสู่อำนาจให้สูงขึ้นอีกนอกเหนือจากบทลงโทษ ทั้งนี้ควรตรากฎหมายให้มีนัยว่า หาก กกต.มิได้รับรองผลผู้สมัครที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตการเลือกตั้งภายในเวลา 30 วัน หรือ 60 วัน หลังการเลือกตั้ง ให้ผู้นั้นยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งรับรอง เป็นต้น....
4.แยกอำนาจนิติบัญญัติกับบริหารออกจากกัน
อำนาจที่ยึดโยงกับประชาชน คือ อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ โดยให้ทั้งสองอำนาจนี้ มีอิสระออกจากกันอย่างเด็ดขาด ตามหลักแบ่งแยกอำนาจ ทั้งในทางนิตินัย และพฤตินัย ซึ่งที่ผ่านมา แม้กฎหมายกำหนดให้แยกออกจากกัน แต่จริงแล้วไม่อาจแยกออกจากกันได้ ฝ่ายบริหารยังมีอำนาจบงการฝ่ายนิติบัญญัติตลอดมา ฝ่ายนิติบัญญัติยังมีอำนาจต่อรองด้านต่างๆจากฝ่ายบริหารได้เสมอ การอุปถัมภ์จึงเป็นเงื่อนไขของการดำรงอำนาจ
กรณีนี้ขอพูดถึง อำนาจนิติบัญญัติ
#จะถูกครอบงำ และบงการโดยฝ่ายบริหาร เพราะเป็นกลุ่มคุมเสียงข้างมากในสภา อำนาจบริหารกับอำนาจนิติบัญญัติ จึงถือเสมือนเป็นกลุ่มเดียวกัน อำนาจบริหารจึงมีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ และไม่อาจแยกออกจากกันได้ อำนาจบริหารจึงเป็นผู้กำหนดเกมส์ในสภาตลอดมา
# อำนาจนิติบัญญัติ แม้จะมีกฎหมายห้ามมิให้แทรกแซงในระบบราชการ แต่โดยพฤตินัยแล้ว มักจะใช้อำนาจแทรกแซงได้เสมอ โดยเฉพาะ สส. ฝ่ายรัฐบาล และไม่เว้นแม้แต่ สส.ฝ่ายค้าน ที่มีอำนาจในกรรมาธิการต่างๆ
#การกำหนดงบประมาณประจำปี เป็นไปตามเสียงข้างมาก และผลประโยชน์ในการต่อรอง
สส.บางกลุ่มจะมีตำแหน่งในกรรมาธิการงบประมาณประจำปีทุกๆครั้ง เพื่อต่อรองผันงบไปตามความต้องการของกลุ่มตน ในพื้นที่ตน (ผลัดกันขอ)
#มีการกำหนดงบประมาณประจำปีอย่างไม่เป็นทางการให้ สส. คนละ 40-60 ล้านต่อปี ได้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน (เป็นที่รู้กัน) นำงบไปฝากไว้กับส่วนราชการในพื้นที่ของตน ดูให้เสมือนว่าส่วนราชการเป็นคนทำ สส. ไม่เกี่ยว แล้วมีการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้รับเหมา บางกลุ่มแอบเป็นผู้รับเหมาเอง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ สิ่งนี้ควรจะหมดไป
ดังนั้น สส.ควรจะมีอำนาจ หน้าที่ในการตรากฎหมาย เท่านั้น ทุกข์สุขประชาชน และการสร้างสาธารณูปโภค หรือกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ ต้องเป็นหน้าที่ของระบบราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ของ สส. เพราะสส.ยิ่งมีอำนาจมากมักจะล่อใจให้คนยอมลงทุนเข้ามามีตำแหน่งเพื่อถอนทุน นี่คือปัญหาใหญ่
นอกจากนั้นหลายๆกรณีในการสอบสวนและวินิจฉัยมักจะล่าช้าไม่ทันต่อเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นการปล่อยให้ผู้ทุจริตไปใช้อำนาจนิติบัญญัติไปก่อน(สอยทีหลัง) บางคดีกว่าจะสิ้นสุดยาวนานเกือบๆสองปี ทำให้ผู้สมัคร และพรรคการเมืองไม่ได้เกรงกลัวต่อการใช้อำนาจของ กกต. และคดีส่วนใหญ่ศาลจะวินิจฉัยไปทางตรงกันข้ามกับคำวินิจฉัยของ กกต. ดังนั้นควรตรากฎหมายให้จัดตั้งศาลเลือกตั้ง นอกจากนั้น ต้องไม่มีการรับรองผลการเลือกตั้งให้กับผู้กระทำผิดจนกว่าศาลจะได้วินิจฉัย ทั้งนี้การวินิจฉัยควรให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเป็นที่สุด
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในกรณีการส่งคดีให้ศาลวินิจฉัยเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง)เป็นหน้าที่ของรัฐ(กกต.) รัฐมีต้นทุนต่อคดีสูงมาก
ดังนั้นการนำคดีขึ้นสู่ศาลควรให้เป็นหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาว่าทำการทุจริตเพื่อเพิ่มต้นทุนในการเข้าสู่อำนาจให้สูงขึ้นอีกนอกเหนือจากบทลงโทษ ทั้งนี้ควรตรากฎหมายให้มีนัยว่า หาก กกต.มิได้รับรองผลผู้สมัครที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตการเลือกตั้งภายในเวลา 30 วัน หรือ 60 วัน หลังการเลือกตั้ง ให้ผู้นั้นยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งรับรอง เป็นต้น....
4.แยกอำนาจนิติบัญญัติกับบริหารออกจากกัน
อำนาจที่ยึดโยงกับประชาชน คือ อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ โดยให้ทั้งสองอำนาจนี้ มีอิสระออกจากกันอย่างเด็ดขาด ตามหลักแบ่งแยกอำนาจ ทั้งในทางนิตินัย และพฤตินัย ซึ่งที่ผ่านมา แม้กฎหมายกำหนดให้แยกออกจากกัน แต่จริงแล้วไม่อาจแยกออกจากกันได้ ฝ่ายบริหารยังมีอำนาจบงการฝ่ายนิติบัญญัติตลอดมา ฝ่ายนิติบัญญัติยังมีอำนาจต่อรองด้านต่างๆจากฝ่ายบริหารได้เสมอ การอุปถัมภ์จึงเป็นเงื่อนไขของการดำรงอำนาจ
กรณีนี้ขอพูดถึง อำนาจนิติบัญญัติ
#จะถูกครอบงำ และบงการโดยฝ่ายบริหาร เพราะเป็นกลุ่มคุมเสียงข้างมากในสภา อำนาจบริหารกับอำนาจนิติบัญญัติ จึงถือเสมือนเป็นกลุ่มเดียวกัน อำนาจบริหารจึงมีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ และไม่อาจแยกออกจากกันได้ อำนาจบริหารจึงเป็นผู้กำหนดเกมส์ในสภาตลอดมา
# อำนาจนิติบัญญัติ แม้จะมีกฎหมายห้ามมิให้แทรกแซงในระบบราชการ แต่โดยพฤตินัยแล้ว มักจะใช้อำนาจแทรกแซงได้เสมอ โดยเฉพาะ สส. ฝ่ายรัฐบาล และไม่เว้นแม้แต่ สส.ฝ่ายค้าน ที่มีอำนาจในกรรมาธิการต่างๆ
#การกำหนดงบประมาณประจำปี เป็นไปตามเสียงข้างมาก และผลประโยชน์ในการต่อรอง
สส.บางกลุ่มจะมีตำแหน่งในกรรมาธิการงบประมาณประจำปีทุกๆครั้ง เพื่อต่อรองผันงบไปตามความต้องการของกลุ่มตน ในพื้นที่ตน (ผลัดกันขอ)
#มีการกำหนดงบประมาณประจำปีอย่างไม่เป็นทางการให้ สส. คนละ 40-60 ล้านต่อปี ได้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน (เป็นที่รู้กัน) นำงบไปฝากไว้กับส่วนราชการในพื้นที่ของตน ดูให้เสมือนว่าส่วนราชการเป็นคนทำ สส. ไม่เกี่ยว แล้วมีการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้รับเหมา บางกลุ่มแอบเป็นผู้รับเหมาเอง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ สิ่งนี้ควรจะหมดไป
ดังนั้น สส.ควรจะมีอำนาจ หน้าที่ในการตรากฎหมาย เท่านั้น ทุกข์สุขประชาชน และการสร้างสาธารณูปโภค หรือกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ ต้องเป็นหน้าที่ของระบบราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ของ สส. เพราะสส.ยิ่งมีอำนาจมากมักจะล่อใจให้คนยอมลงทุนเข้ามามีตำแหน่งเพื่อถอนทุน นี่คือปัญหาใหญ่