แตกต่าง แต่ไม่แปลกแยก สังคมสันติสุข

สังคมไทยเดินมาถึงจุดที่เรียกว่าเป็น “อัตลักษณ์ทางความคิด” คิดว่าตัวกู ของกู เอาตัวเองเป็นใหญ่

ทุกคนมีแต่ไม่ ไม่รับ ไม่ใช่ ไม่ฟังเหตุผล ไม่เห็นด้วย

 

ความ ขัดแย้งทางความคิดที่นับวันจะกลายเป็นรอยร้าวลึกทางสังคม แบ่งแยกคนไทยเป็นก๊ก เป็นเหล่าพวกฉัน พวกเธอ พวกเขา จะดีกว่าไหมถ้าสังคมไทย

มีแต่ “พวกเรา” แม้เธอกับเขา เราคิดไม่เหมือนกัน แต่พวกเราอยู่ “ร่วมกัน” ได้ภายใต้สังคมสันติสุข (เดียวกัน)

 

ดูเหมือนว่าความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อของสังคมไทยกำลังพัฒนามาไกล ลุกลามเป็นความแปลกแยกขัดแย้ง ความร้าวฉานทางสังคมที่กำลังคุกคามสังคมไทยกำลังต้องการได้รับการเยียวยา ก่อนสายเกินไป
“สังคมไทยเดินมาถึงจุดที่เรียกว่าเป็น “อัตลักษณ์ทางความคิด” คิดว่าตัวกู ของกู เอาตัวเองเป็นใหญ่ ทุกคนมีแต่ไม่ ไม่รับ ไม่ใช่ ไม่ฟังเหตุผล ไม่เห็นด้วย” พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าว

 

บนสังคมรากฐาน “ไม่” บั่นทอนสังคมที่ผาสุก โดยเฉพาะปัญหาชายแดนภาคใต้ ทำให้ พล.อ.เอกชัย ถึงเวลาที่ต้องใช้ “สมานฉันท์” เข้าเยียวยา ผ่านหลักสูตร “เสริมสร้างสังคมสันติสุข” ซึ่งเป็นหลักสูตรปฐมฤกษ์ของวิทยาลัยสมานฉันท์สันติสุข ภายใต้สถาบันพระปกเกล้า

 

แม้ว่าสถาบันพระปกเกล้าจะเปิดสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาลมาแล้ว 10 ปี แต่ความขัดแย้งทางสูงกลับทวีคูณ ซึ่งพล.อ.เอกชัย มองว่า หลักสูตรที่ผ่านมาสอนแก้ปัญหาขัดแย้งไกล่เกลี่ยเรื่องเล็กๆ แต่ปัจจุบันความขัดแย้งขยายวงกว้างในระดับประเทศ และเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผล

 

“เราเลยอยากสร้างสังคมสันติสุข ทำอย่างไรให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ภายใต้ความแตกต่างทางความคิด วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา”

 

ด้วยแนวคิดการสอนแบบใหม่ คือ เรียนด้วยระบบสัมผัสประสบการณ์จริง ลงพื้นที่ 2 ใน 3 ของเวลาเรียน ทุกๆ ที่คือห้องเรียน ฟังมากกว่าพูด เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

พล.อ.เอกชัย มองว่า การลงพื้นที่ และการเรียนนอกห้องเรียน ซึ่งต้องเป็นกระบวนการ “เปิดใจ” คุยถึงข้อขัดแย้งที่เกิด เพราะคนเราความเห็นแตกต่างกันได้ แต่ต้องไม่เกิดการ “แตกแยก” ซึ่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และมุมมองเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้เราเข้าใจความคิดของคนแต่ละกลุ่ม

 

การเรียนในหลักสูตรนี้จึงไม่ตายตัวว่าจะเจาะปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพียงสถานเดียว แต่จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย และ ยิ่งแตกต่างสิ้นเชิงกับ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หรือ วปอ. เพราะ วปอ.มีจุดหมายปลายทางคือยุทธศาสตร์ชาติ แต่สำหรับหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขมีความเข้าใจและเชื่อมั่นระหว่าง กันของคนในสังคมเป็นปลายทางของความหวัง

 

หลักสูตรนี้จึงเป็นแหล่งรวมเหล่าตั้งแต่ ป.4 ถึงดอกเตอร์ ปราชญ์ชาวบ้าน เอ็นจีโอ ข้าราชการ ที่มีเจตนารมณ์เดียวกัน คือ สร้างให้สังคมไทยแห่งนี้มีแต่รอยยิ้ม “ของเราแต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกัน แต่รุ่นที่หนึ่งเราจะศึกษาปัญหาใหญ่กรณีขัดแย้ง 3 จังหวัดภาคใต้” แม้จะพุ่งเป้าให้เกิดความสมานฉันท์ในดินแดนตอนใต้ของไทย แต่กรณีศึกษาต้องมากกว่านั้น

 

พล.อ.เอกชัย ย้ำว่า หลักสูตรนี้ถูกดีไซน์ออกมาในแบบ “นอกกรอบ” เดิมๆ ซึ่งแต่ละเดือนจะมีโปรแกรมศึกษากิจกรรมที่แตกต่างกันของคนในสังคม อย่างกิจกรรมในสัปดาห์แรกศึกษาคนชายขอบ ชนกลุ่มน้อยพลัดถิ่น ที่อยู่ทางตอนเหนือของไทย ซึ่งต้องลงพื้นที่คลุกกับคนในท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกันและ กัน

 

“เราจะศึกษาเรื่องนี้ 4 วัน พาไปดูกรณีของก๊ก มิน ตั๋ง ที่อยู่บนดอยแม่สลอง ไปดูว่าทำไมเขาเข้ามาอยู่เมืองไทย แล้วถึงไม่ได้สิทธิ ไม่ได้เป็นคนไทยเสียที” หรือแม้แต่สังคมอีสานที่โครงสร้างสังคมผิดเพี้ยนไปอย่างแรง
คนอีสานกว่า 2 แสนคน ย้ายถิ่นตั้งรกรากที่ยุโรป แต่คนต่างชาติกลับเข้ามาแทนที่

 

“ตอน นี้กลับตาลปัตร คนยุโรปไปอยู่อีสาน เป็นอะไรที่แปลกประหลาด ต่อไปควายในอีสานจะหายหมด มีแต่ฝรั่งมาไถนาแทน เพราะเขาชอบ ต้องมาศึกษาว่าทำไมโครงสร้างสังคมมันถึงผิดเพี้ยนอย่างนี้”
การเรียนที่เน้นกรณีศึกษาหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกเดือน และกลับมาถกเถียงถึง 'รากเหง้า' ของปัญหา
พล.อ.เอก ชัย บอกว่า ทุกคนจะต้องเรียนทุกเคสเหมือนกัน แต่ศึกษาเชิงลึกอย่างแตกต่าง เช่น เรื่องคนชายขอบในเรื่องเดียวกันกลุ่มหนึ่งจะต้องศึกษาเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของชนกลุ่มน้อย อีกกลุ่มต้องศึกษาชนกลุ่มน้อยกับความมั่นคงของประเทศ 6 กลุ่ม 6 ประเด็น เพื่อให้มองปัญหาที่หลากหลายและครอบคลุม

 

และก่อนจบผู้ที่เข้าเรียนจะต้อง “ร่วมด้วยช่วยกัน” สร้างผลงานวิจัยถึงแนวทางแก้ไขปัญหาทางสังคมของ “รุ่น” ซึ่งรุ่นแรกเป็นแนวทางแก้ไขวิกฤตการณ์ชายแดนภาคใต้ ที่สำคัญต้องเป็นผลวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยผ่านเวที “เปิดใจ” ของคนที่เกี่ยวข้องทุกส่วนภาค “เป็น เวทีคุยเปิดอกเพื่อให้รู้ว่าเกิดอะไรในสังคมไทยที่ต้องแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่ใช่มองการแก้ปัญหาแบบท่อใครท่อมัน ท่อทหารก็แก้แบบทหาร ของผมท่อสมานฉันท์ก็มองภาคประชาชนอย่างเดียว ที่ผ่านมาเป็นอย่างนี้ ทั้งที่เป็นปัญหาระดับชาติแต่ไม่เคยมาเจอกัน แต่หลักสูตรนี้เราจะทำให้คนที่เกี่ยวข้องมาเจอกัน”

รูปแบบของกระบวนการสอน “เปิดใจ” ซึ่ง จะเป็นคีย์ซัคเซสของหลักสูตรในความคิดของผู้อำนวยการสำนักสันติวิธี คือทำให้ในหลายมิติของสังคมได้แลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน เข้าใจมุมคิดของคนต่างมิติ ไม่ยึดติดเอาว่า “ตัวกู ของกู” โดยการเปิดเวทีประจันหน้าระหว่างคนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ในท้องที่ เอ็นจีโอ ทหาร และผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ

 

เขาเชื่อว่านี่คือการพลิกรูปแบบการเรียนใหม่ เพื่อให้สังคม “ยึดติด” กับตำรา แต่เป็นการผสมผสาน “ความเป็นจริงในชีวิต” ช่วยแก้ไข ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวศึกษา และหาทางแก้ปัญหา 'ขณะ นี้การเรียนเราติดตำรา ในหลวงบอกห้ามติดตำรา เพราะท่านทำทุกอย่างจากชีวิตจริง ศึกษาจากความเป็นจริง ตำราแค่นำมาต่อยอดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ทุกวันนี้เราเอาตำรามาเถียงทั้งที่ตำราเป็นของใครก็ไม่รู้และจะเอามาแอ พพลายใช้ได้จริงหรือเปล่าไม่รู้ ต้องเอาหลักความจริงมาใช้

 

นอกจากนี้เรายังไม่ได้สอนแค่ความรู้อย่างเดียว เราสอนวิธีดำรงชีวิตในสังคมที่หลากหลายและแตกต่าง จะดำรงอยู่ได้อย่างไร เพราะตรงนี้เหมือนสังคมย่อๆ ของประเทศไทยที่มีคนอยู่ด้วยกัน 60 คน อยู่ได้มั้ยถ้าอยู่ไม่ได้ก็อยู่สังคมใหญ่ไม่ได้แน่นอน'

 

เขา บอกว่า พระปกเกล้าเดินมาถึงจุดที่ไม่ประเมินผลแค่จากตัวเองที่สามารถทำงาน “เสร็จ” แต่ ดูว่าสังคมได้อะไรจากเราบ้าง ซึ่งเป็นสถาบันนำร่องแห่งแรกของไทยที่ดูผลตอบรับของโครงการที่ทำไปทั้งหมด ว่าตอบสนองสังคมชุมชนได้อย่าง คนในพื้นที่ได้ประโยชน์ไหม

 

แม้จะแตกต่างทางความคิด แต่ไม่แปลกแยก ภายใต้สันติสุขเดียวกัน

Visitors: 6,483