ประเทศไทยจะรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างไร ? (ตอนที่ 2)

อาชีพสอดคล้องกับการพัฒนาส่งเสริมประเทศอาเซียน

                การรวมกลุ่มประเทศอาเซียนกับกำลังเปิดมากกว่าเดิม สำหรับอาชีพที่สามารถแลกเปลี่ยน สามารถย้ายแรงงานฝีมือได้อย่างเสรีในประเทศอาเซียน 10 ประเทศ คือ แพทย์, ทันตแพทย์, นักบัญชี, วิศวกร, พยาบาล, สถาปนิก, นักสำรวจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ระบบการศึกษาของเราจะต้องสอดคล้องกับเวลาที่เราเปิดอาเซียนด้วย 



                การสร้างคนหากผมพูดเช่นนี้ เราจะต้องย้อนกลับไป 10 ปี เพราะกว่าจะได้คนเช่น แพทย์คนหนึ่ง เราต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 – 10 ปี แต่ถ้าหากเทียบเรื่องวงการแพทย์ในประเทศอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยเราไม่น้อยหน้าใคร เราอาจจะอยู่อันดับต้นๆของประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้งหมด และอีกประการหนึ่งถ้าหากแพทย์ของเราจะต้องไปอยู่ในประเทศต่างๆ แพทย์ของเราก็สามารถใช้ภาษาที่สองได้สบาย บางคนอาจจะห่วงว่าจะเกิดการสมองไหลของแพทย์  แล้วคนไทยจะได้รับการรักษาจากแพทย์ที่ดีมีคุณภาพรึเปล่า ผมมีความเห็นว่าแพทย์ของเราเดี๋ยวนี้กลับกลายไปอยู่ในภาคเอกชนและภาครัฐเยอะแยะมากมาย เช่นในหน่วยงานตระกูล ส. ก็จะมีเหล่าคุณหมอไปอยู่มากมายไม่ได้ใช้อาชีพดั้งเดิมแล้ว ผมคิดว่าเรายังมีแพทย์อีกเยอะ ทำให้ไม่ห่วงตรงนี้ แต่ที่ห่วงคืออีกอาชีพหนึ่งคือพยาบาล แต่พยาบาลของเรามีจุดอ่อนที่เราใช้ภาษาที่สองไม่ได้ ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ห่วงเรื่องสาธารณะสุขมาก และเขาใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เพราะเป็นภาษาพื้นฐานของเขา ทำให้เราก็ถูกแย่งอาชีพไปแล้วส่วนหนึ่ง


        
          จากที่มีพยาบาลจากประเทศฟิลิปปินส์มาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น (ข้อมูลในเว็บไซด์ของพยาบาล ศิริราชกล่าวว่าฟิลิปปินส์มีการเรียนด้านพยาบาลมากแล้วเขาส่งออกไปทำงานในต่างประเทศ ประเทศไทยเป็นเป้าหมายที่เขามา) แล้วเราควรจะเตรียมตัวอย่างไร สำหรับพยาบาลที่คิดว่าเราจะทำงานอยู่ในประเทศของเราก็ไม่เป็นไร เราก็ใช้ภาษาไทยของเราไป แต่ถ้าคิดว่าอยากจะเป็นพยาบาลที่สามารถไปรักษาในประเทศอื่นๆ ในประเทศอาเซียนก็คงจะต้องสามารถใช้ภาษาที่สองให้ได้ เพราะเราต้องใช้ในการสื่อสารกับคนไข้ เพราะว่าการสื่อสารกับคนไข้ที่ใช้การแปล มันไม่ได้ให้ความรู้สึกหรือสิ่งที่อยากจะให้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในวงการสาธารณสุขคงจะต้องพัฒนาด้านภาษาที่สองให้มากขึ้น
         
          ด้านวิศวกรรมของประเทศไทยเราก็ไม่ได้อ่อนกว่าประเทศไหนเลย เรามีการพัฒนาก้าวหน้าไปพอสมควร ผมเคยได้แวะที่ดูใบก่อนเดินทางไปประเทศอิหร่านกับนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า  กงสุลใหญ่ที่ดูใบได้บรรยายให้ทราบว่าคนไทยเป็นที่ไว้วางใจในฝีมือการก่อสร้างมีความชำนาญในด้านวิศวกรรมหรือการก่อสร้าง  มีทักษะสูงมากเราได้ไปก่อสร้างในประเทศต่างๆ ทั้งรถไฟฟ้า  ตึกสูง ถนน หรืออย่างที่พม่ากำลังพัฒนาตอนนี้บริษัทคนไทยได้รับให้เป็นผู้ก่อสร้าง  ซึ่งเรามีความเก่งอยู่แล้ว และไม่ได้เก่งแต่ด้านก่อสร้างบนพื้นดิน เราเก่งการก่อสร้างตั้งแต่ที่สูง  บนดิน  ลงไปถึงใต้ดินเราก็เก่ง  เราสามารถทำงานก่อสร้างได้อย่างดี มีคุณภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว 
         


           หากเราไม่เตรียมความพร้อมเท่าที่ควรเมื่อเปิดเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ผลกระทบที่ตามมาคือ บางอาชีพต่างชาติสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยเราได้ และอีกประเด็นคือเรื่องการศึกษา ขณะนี้เรื่องการศึกษาในสิงคโปร์เขาเจริญก้าวหน้ามาก เช่น มหาวิทยาลัยนันยาง ติดอันดับสูงในโลก หรือมหาวิทยาลัยในมาเลเซียก็มีคุณภาพเช่นกัน ต่อไปมหาวิทยาลัยต่างๆ เหล่านี้จะรุกเข้ามาในประเทศไทยด้วย แต่เราอาจจะเตรียมความพร้อมในสาขาที่ประเทศอื่นเขาไม่เข้มแข็งเท่าเรา อย่างสาขาเรื่องการแพทย์ หากเปิดรองรับนักศึกษาต่างชาติ ผมคิดว่าคนในภูมิภาคอาเซียนจะมาเรียนในประเทศไทยมากขึ้นแน่นอน หากราคาค่าเล่าเรียนพอๆ กันกับเรียนที่ประเทศเขา
 

เรากำลังจะก้าวเข้ามาแข่งขันกันเองในประเทศอาเซียนหรือไม่ ?

             หากจะคิดว่าเป็นการแข่งขันกันเองก็คงจะไม่ใช่  จะเหมือนกันกับในกลุ่มประเทศยุโรปที่มีการรวมตัวแล้วสร้างความเข้มแข็งร่วมกัน แล้วก็ไปแข่งขันกับต่างประเทศ ในประเทศยุโรปอย่างประเทศหนึ่งอาจจะมี 5 ล้านหรือ 10 ล้านก็มารวมตัวกัน อย่างประเทศฝรั่งเศสเขาสร้างเครื่องบินแอร์บัส เขาไม่ได้สร้างชิ้นส่วนหมดในประเทศเดียว แต่ว่าเขาให้ประเทศโน้นสร้างชิ้นส่วนนี้ ประเทศนี้สร้างชิ้นส่วนนี้ เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องสร้างความเข้มแข็งเพื่อรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ต่อไปอุตสาหกรรมยานยนต์ในกลุ่มประเทศอาเซียนผมคิดว่าต่อไปจะเป็นอันดับที่ 2 หรือ 3 ของโลกเลย เพราะว่าประเทศในอาเซียนมีการผลิตรถยนต์มาก อย่างในมาเลเซียและอินโดนีเซีย เช่น รถยนต์โตโยต้าที่วิ่งกัน ก็ผลิตในอินโดนีเซีย อย่างในประเทศไทยมีการผลิตชิ้นส่วนมาก เป็นลำดับต้นๆ ของโลกเลย เพราะฉะนั้นในอาเซียนจะเป็นศูนย์แห่งการส่งออกยานยนต์ของโลกเลยได้ หากมีการร่วมมือกัน

 

             รูปแบบที่เราสามารถร่วมมือกันได้ เช่น ประเทศอินโดนีเซียที่มีการสร้างรถตู้ก็ให้สร้างที่ประเทศเดียว เราเก่งเชี่ยวชาญรถกระบะก็ทำเฉพาะอันนี้ เราทำไม่ใช่เพื่อแข่งกันเอง  แต่เราทำเพื่อไปแข่งกับกลุ่มประเทศอื่นๆ ในโลกนี้ แล้วก็ในนามของอาเซียน อย่างเช่น รถโปรตอนของมาเลเซีย เราก็สามารถผลิตส่งชิ้นส่วนไปให้มาเลเซียได้ ต้องร่วมมือกันแล้วก็ช่วยกันทำตรงนี้ให้เกิดขึ้นมา

 

             ผมได้ดูเรื่องโครงสร้างของประชากรในอาเซียนจะเป็นรูปเหมือนสามเหลี่ยม แต่พอในอนาคตอีก 40 – 50 ปี โครงสร้างประชากรจะคล้ายๆ กับกรดพระ คือจะโค้งขึ้นไป แล้วยิ่งพอจะไปถึง ปี  2100 ผมก็ไม่รู้ไปอยู่ที่ไหนแล้ว ยอดแหลมจะเป็นตุ่มอยู่ในกรดพระอย่างนั้นเลย แสดงว่าคนจะมีอายุยืนมากขึ้น อาเซียนเราอาจจะเป็นแหล่งที่บ่มเพาะคนชรา คือ คนชรามาอยู่ในภูมิภาคเรา  แล้วเขามีความสุข เพราะเราจะดูแลเขาด้วยอาหาร ด้วยสภาพแวดล้อม และด้วยการเอาอกเอาใจใส่ดูแล เราจะเป็นศูนย์กลางรวมตรงนี้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นอีกสิ่งที่เราจะต้องมีการเตรียม และอะไรที่เป็นคุณค่าที่ดีของเราแล้ว เราจะต้องรักษาตรงนี้ไว้ให้ดี อะไรที่เราไม่พร้อมก็ต้องเตรียมพัฒนาตรงนั้นเพื่อให้ไปสู่ความพร้อมให้ได้ เหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่อยากจะฝากไว้ก่อนที่เราจะไปสู่อาเซียน

 

คนมุสลิมในอาเซียนมีมากถึง 300 ล้านคน เราสามารถสร้างอะไรขายให้กับเขาได้บ้าง ?

             ในกลุ่มของประเทศอาเซียนก็มีกลุ่มประเทศที่เป็นมุสลิมแล้วครึ่งหนึ่ง อินโดนีเซียก็มีจำนวนคนที่เป็นมุสลิมที่เรียกว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลก ก็ถือว่ามีวิถีที่เป็นมุสลิมอยู่แล้ว แล้วเราจะเตรียมการอะไรเพื่อที่จะขายให้กับเขา ยกตัวอย่าง นักศึกษาของผมเขาเสนอเรื่อง โรงพยาบาลสร้างสุข เป็นโรงพยาบาลที่รู้วิถีของคนมุสลิม ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายไปแล้วจะดูแลอย่างไร เขาเขียนรายละเอียดไว้เยอะมากเลยว่าจะต้องดูแลคนที่เกิดมาปุ๊บจะต้องมีการพูดที่ข้างหู ซึ่งตรงนี้เราจะต้องเรียนรู้วิถีตรงนี้ เพราะคนมุสลิม 300 ล้านคนอาจจะมาใช้บริการที่บ้านเรา

 

            และไม่ใช่เฉพาะแค่ในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีประมาณ 300 ล้าน แต่ถ้ามาดูทั้งโลก ในภูมิภาคเอเชียทั้งหมดมีกลุ่มคนมุสลิม 1,400 ล้านคน แล้วเรายังมีความเก่งในเรื่องเย็บปักถักร้อย ยังไงกลุ่มมุสลิมจะต้องแต่งตัวในวิถีวัฒนธรรม เราสามารถเป็นคนผลิตเสื้อผ้า สิ่งของต่างๆ ที่เขาต้องใช้ ประเทศไทยสามารถทำได้ดีด้วย เท่าที่ผมทราบขณะนี้ก็ส่งไปขายในต่างประเทศด้วยส่วนหนึ่ง เราไม่ได้ขายเฉพาะในอาเซียน แต่เราขายเฉพาะในเอเชียก็ได้ เราจะได้เปรียบชาติอื่นๆ ตรงที่ ต้นทุนค่าขนส่งเราก็ถูก เราขายในเอเชียต้นทุนการขนส่งเราก็ถูก ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นตลาดของเรามากกว่า

 

            ความฝันของเด็กๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนที่เขาอยากเป็น จะบอกถึงความต่าง ตรงที่อะไรที่เราฝันไม่เหมือนคนอื่น นั่นคือจุดแข็งของเรา เพราะว่าเราจะได้ใช้ขายตรงนั้นได้ อาชีพหนึ่งที่เราฝันอยากจะเป็น อยากจะทำแล้วที่อื่นไม่มีใครฝันเลย เช่น การเป็นพ่อครัว ผมว่าดีนะ เรามีนโยบายครัวโลกมาตั้งแต่ปี 2547 แล้ว แต่หามหาวิทยาลัยที่สอนเด็กๆ เพื่อที่จะเรียนเฉพาะการทำอาหาร ผมว่าไม่มีที่ไหนที่โดดเด่นเท่ากับที่วิทยาลัยดุสิตธานี ซึ่งก็เปิดเป็นวิทยาลัยเล็กๆ เท่านั้นเอง แทนที่ใน 10 ปีนี้ผมว่าเราน่าจะพัฒนาเตรียมพร้อมกันได้แล้ว เช่นของโรงแรมโอเรียนเต็ล ก็จะมีโรงเรียนสอนทำอาหาร มีคนจองเรียนเต็มกันตลอด ฝรั่งชอบมาทำอาหารกัน ผมว่าตรงนี้เราต้องเตรียมพร้อมผลิตพ่อครัวของโลกได้แล้วนะ เพราะเรามีโรงแรมไม่รู้เป็นกี่พันกี่หมื่นโรงแรมที่เราต้องใช้พ่อครัว แต่ไม่ใช่เป็นเฉพาะพ่อครัวเท่านั้น ยังมีผู้บริหารอาหารที่ประชากรทั่วโลกจะสามารถนำอาหารของเราไปบริโภคได้อย่างเพียงพอ

 

            โรงแรมของไทยเราที่ติดอันดับโลก อย่างเช่น ชีวาสมที่อยู่ที่หัวหิน จากที่ได้มีการประเมินจากหนังสือ Traveler ชีวาสมติดอันดับหนึ่งของโลกที่มีการเปิดที่พักและดูแลสุขภาพ เขาใช้อาหารสมุนไพร และผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายแห่งที่เขาได้มีการพัฒนาในแนววิถีธรรมชาติ ไม่ใช่พัฒนาจากที่มีสถาบันสอนเรื่องนี้อย่างจริงจัง เช่นการดีไซด์อาหาร เวลาอาหารชนิดหนึ่งจะจัดให้สวยงานแล้วถูกตาถูกลิ้นได้อย่างไร เขาจะมีวิธีการของเขา เขาก็สอนเป็นคอร์สพิเศษ แต่ว่าไม่ได้มีการสอนเป็นชิ้นเป็นอันเท่าที่ควร

 

           จากตัวอย่างการเปิดประเทศอาเซียน ตัวแบบที่เราดูมาคือ อียูของยุโรป แล้วก็ยุโรปในขณะนี้ผมเรียกว่าเป็นขาลงแล้ว และก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ  เราเห็นตัวแบบแล้วว่าการรวมตัวกันแล้วนำเรื่องเศรษฐกิจเป็นตัวนำ  สุดท้ายมันก็จะพังแล้วก็ตายเหมือนกัน แต่เราไม่ได้รวมกันเพียงแค่เศรษฐกิจอย่างเดียว เรายังรวมถึงวัฒนธรรมด้วย ผมจึงเตือนต่อสังคมว่า เราอย่าไปมุ่งเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลักเหมือนที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ แต่สิ่งที่ควรมุ่งคือจุดแข็งของประเทศใน 10 ประเทศอาเซียน คือเรื่องสังคมและวัฒนธรรม ไม่ได้อยู่ในเรื่องเศรษฐกิจซึ่งเรื่องที่ได้ติดตามมา เมื่อไรเราเอาเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญเหมือนในยุโรป สุดท้ายเราก็จะพังเหมือนในยุโรปหรือในสหรัฐอเมริกาเหมือนกัน

 

           ประเทศไทยเป็นประเทศที่แม้จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างไรเราก็จะอยู่ได้ เราไม่เคยค้นหาว่าเราอยู่ได้เพราะอะไร แต่ผมจะบอกว่าเราอยู่ได้เพราะสังคมและวัฒนธรรม ผมได้มีโอกาสเดินทางไปหลายประเทศ หากเราไปต่างประเทศถ้าเผื่อยามที่เราอดอยากมันไม่มีที่ไหนให้เรากินได้เลยนะ แต่บ้านเราถึงจะอดยากขนาดไหนเดินไปในท้องทุ่งท้องนาที่ไหนก็มีกิน มีคนมีน้ำใจแบ่งปันกัน เพราะฉะนั้นนี่คือวิถีไทย วิถีอาเซียนที่เราอยู่กันได้เพราะเรามีจุดแข็งตรงนี้ บางส่วนเราไม่ได้เอาเศรษฐกิจนำอย่างเดียว  หากเราเน้นเรื่องเศรษฐกิจ พวกนักธุรกิจที่เขาบอกว่า ต้องสร้างผลกำไรให้ได้มากที่สุด นี่คือจุดอ่อนของเขา ยิ่งคุณสร้างผลกำไรมากขึ้น มันยิ่งสร้างความไม่เป็นธรรมในสังคมมากขึ้น เมื่อความไม่เป็นธรรมในสังคมมากขึ้น มันจะเกิดแรงต่อต้านแล้วจะเกิดความเห็นแก่ตัวมากขึ้น สังคมไทยวันนี้ก็ไปสู่มิตินี้มากมายเหมือนกัน

 

          อย่างจีนที่ประสบความสำเร็จ เพราะใช้ระบบทุนนิยมภายใต้วิถีของสังคมนิยม แต่ของไทยเราน่าจะเป็นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมภายใต้พุทธวิถีหรือว่าศาสนาวิถีก็ได้ ผมว่าตรงนี้น่าจะเป็นจุดดีมากกว่านะ เพราะว่าเราเป็นชาติที่มีศาสนาเป็นตัวขับเคลื่อนชีวิตคน การที่เรามีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ทำให้เราเป็นคนไม่สุดโต่งจนเกินไป เวลาเราเป็นทุนนิยมเราก็ไม่สุดโต่ง แต่ถ้าเราไปก็อบปี้เขามาแล้วเราต้องผลิตเยอะ ต้องเอาให้ชนะเขา มันก็เกิดความเห็นแก่ตัว ก็ไม่ใช่วิถีของเราอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องกลับมาอยู่กับบริบทและวิถีของตัวเราเอง ผมคิดว่าตรงนี้น่าจะทำให้ตัวเรามีความสุข และเราก็จะมีความสุขตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนเราอยู่เรื่อยๆว่าไม่ให้เราสุดโต่ง  ให้เราพอเพียง คือไม่ให้เราสุดโต่งไปกับด้านใดด้านหนึ่ง แต่ให้เราพอเพียงตามสภาพบริบทของเรา

 

           ผมมองว่าการที่เราสุดโต่ง แล้วไปสู่มิติของทุนนิยมเสรีมากจนเกินไป  แล้วเราก็ฝันว่าเรามีเงินเยอะๆแล้วเราจะมีความสุข ผมอยากจะเรียนว่า การมีเงินมาก มีทรัพย์สมบัติมาก ไม่ใช่เป็นคำตอบว่าชีวิตจะมีความสุข เราเห็นหลายคนที่มีเงินมาก เป็นหลายล้าน หลายแสนล้าน ชีวิตก็มีความทุกข์เยอะแยะมากมาย เพราะฉะนั้นอย่าไปสุดโต่งจนเกินไป ให้อยู่กับตัวตนและให้พอประมาณกับตัวเอง

 

           ประชาคมอาเซียนก็ใกล้เข้ามาถึงแล้ว ซึ่งวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อนำเอาความก้าวหน้าเข้ามาสู่ 10 ประเทศที่ร่วมมือให้เป็นปึกแผ่นเพื่อที่จะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับ 10 ประเทศของอาเซียนได้ เราจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นปึกแผ่นกับ 10 ประเทศ ไม่ใช่มาแข่งขันกัน แต่จะร่วมมือกันเพื่อมั่นคง มั่งคั่ง ทั้งสังคมและวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ

 

Visitors: 6,483